แบ่งปันความรู้
กฎหมาย DPS ใครได้ประโยชน์บ้าง ? |

รู้ให้ลึก! กฎหมาย DPS ใครได้ประโยชน์บ้าง?

กฎหมาย DPS นอกจากจะสร้างกลไกให้เกิด Best practice แก่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่จะได้มีกรอบแนวทางปฏิบัติที่ดี (Best practice) ในการกำหนดทิศทาง วิธีการให้บริการและการดูแลควบคุมตัวเองที่เหมาะสมและมีมาตรฐานแล้ว มีการกำหนดวิธีการลงทะเบียนผู้ใช้บริการด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อจัดการคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสม การจัดการกับปัญหาการฉ้อโกงต่างๆ หรือ สแกมเมอร์ (Scammer) ที่สามารถระบุผู้กระทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันยังสามารถช่วยส่งเสริมให้บริการแพลตฟอร์มมีความน่าเชื่อถืออีกด้วย นอกจากนี้ ในมุมของผู้ใช้บริการเอง ก็ยังได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้เช่นกัน เช่น ร้านค้าบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่จะได้รับความชัดเจนในด้านข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็น อาทิ เป็นบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลอะไร ข้อมูลการจัดอันดับ Ranking ร้านยอดนิยม ช่องทางในการติดต่อกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ในกรณีที่ถ้าเกิดปัญหาจากการขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม ส่วน ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคทั่วไป ไม่เพียงแค่จะได้รับการบริการที่ดีและปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังได้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะของการเข้าถึงและใช้งานได้ง่าย (User friendly) มีช่องทางในการติดต่อ หรือแม้แต่การยกเลิกออเดอร์ระหว่างทางก็สามารถทำได้ง่ายและเร็วขึ้น จากเดิมที่ต้องติดต่อผู้ให้บริการผ่านหลายช่องทางที่อาจจะมีการตอบสนองค่อนข้างช้า รอนานหลายชั่วโมง เป็นต้น และที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือ กลุ่มไรเดอร์ (Rider) ที่เปรียบเสมือนคนกลางระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งที่ผ่านมาพบว่า เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากแพลตฟอร์มดิจิทัล เช่น การหักค่า GP (Gross profit) ที่อาจจะมีการปรับลดค่ารอบโดยไม่แจ้งล่วงหน้า ต้องทำรอบควบออร์เดอร์ ไม่มีความชัดเจนในการทำงาน เป็นต้น ดังนั้น เมื่อมีกฎหมายฉบับนี้ ก็จะได้รับการดูแลคุ้มครองและความเป็นธรรมในเรื่องของผลตอบแทนมากยิ่งขึ้น ขณะที่ หน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากในกฎหมายฉบับนี้มีกลไกสำคัญที่สุดคือ ‘การตั้งคณะกรรมการร่วม’ ที่หน่วยงานภาครัฐต่างๆ เกือบ 20 หน่วยงาน จะต้องเข้ามาทำงานร่วมกัน เชื่อมโยงข้อมูลและระบบ ในการดูแลผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลร่วมกันอย่างบูรณาการ เพื่อให้ดำเนินงานในการกำกับดูแล ไม่เกิดการทับซ้อนระหว่างกัน และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

“กฎหมาย DPS” เป็นกฎหมายที่กำกับดูแลผู้ให้บริการหรือผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเท่านั้น ฉะนั้นบุคคลที่เป็นผู้ซื้อ หรือผู้ขายภายใต้แพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ ไม่ต้องมาจดแจ้งข้อมูลกับ ETDA

“กฎหมาย DPS” ทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการต่างได้ประโยชน์

ฎหมาย DPS นอกจากจะสร้างกลไกให้เกิดกรอบแนวทางปฏิบัติที่ดี (Best Practice) แก่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จะได้มีแนวทางในการกำหนดทิศทาง วิธีการให้บริการและการดูแลควบคุมตัวเองที่เหมาะสมและมีมาตรฐานแล้ว ยังมีการกำหนดวิธีการลงทะเบียนผู้ใช้บริการด้วยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เพื่อจัดการคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสม การจัดการกับปัญหาการฉ้อโกงต่าง ๆ หรือ สแกมเมอร์ (Scammer) ที่สามารถระบุผู้กระทำได้ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ขณะเดียวกันยังสามารถช่วยส่งเสริมให้บริการแพลตฟอร์มมีความน่าเชื่อถืออีกด้วย นอกจากนี้ ในมุมของผู้ใช้บริการเอง ก็ยังได้รับประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้เช่นกัน เช่น ร้านค้าบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ที่จะได้รับความชัดเจนในด้านข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็น อาทิ เป็นบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลอะไร ข้อมูลการจัดอันดับ Ranking ร้านยอดนิยม ช่องทางในการติดต่อกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ในกรณีที่ถ้าเกิดปัญหาจากการขายสินค้าบนแพลตฟอร์ม ส่วนผู้ซื้อหรือผู้บริโภคทั่วไป ไม่เพียงแต่จะได้รับการบริการที่ดีและปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังได้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะของการเข้าถึงและใช้งานได้ง่าย (User Friendly) มีช่องทางในการติดต่อ หรือแม้แต่การยกเลิกออเดอร์ระหว่างทางก็สามารถทำได้ง่ายและเร็วขึ้น เป็นต้น

"กฎหมาย" DPS เน้นคุ้มครอง ไม่เน้นควบคุม

“กฎหมาย DPS” มีแล้วใครได้ประโยชน์ เจาะอินไซต์ที่ ผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ต้องอ่าน!

               “กฎหมาย DPS” (Digital Platform Services) หรือที่รู้จักกันในชื่อ พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ที่จะถึงนี้ แน่นอนว่าในมุมของผู้ที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างผู้ให้บริการ หรือ ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพตลฟอร์มดิจิทัลนั้น คงติดตามความเคลื่อนไหวและมีการทำความเข้าใจกับกฎหมายฉบับนี้มาอย่างต่อเนื่อง เพราะกว่าจะมีกฎหมาย DPS กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA (เอ็ตด้า) ในฐานะหัวเรือใหญ่ของการผลักดันกฎหมายฉบับนี้ ได้มีการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เปิดรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนรวบรวมประเด็นเสนอแนะ เพื่อประโยชน์ในการนำไปปรับปรุงกฎหมายซึ่งได้มีผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง
แต่สำหรับในมุมของผู้ใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัล อย่างผู้บริโภค ผู้ซื้อ พ่อค้าแม่ค้า ตลอดจน พี่ๆ ไรเดอร์ จะได้รับประโยชน์อย่างไร? ยังคงเป็นประเด็นที่หลายคนอยากรู้ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ETDA ได้มีการเผยแพร่ความรู้สร้างความเข้าใจ เพื่อตอบประเด็นคำถามข้างต้นแล้ว ผ่านรายการพอดแคสต์ “ED-DO (เอ็ด-ดู้) รู้ไว้ชีวิตไม่ตกขอบ ไปกับ ETDA” ตอน กฎหมาย Digital Platform ใครได้ประโยชน์? จะมีเนื้อหาน่าสนใจอย่างไรบ้าง แล้วการใช้งานแพลตฟอร์มดิจิทัลจะมั่นใจ ปลอดภัยขึ้นแค่ไหน วันนี้เราจะมาสรุปให้อ่านกัน

จาก “Network Effect” สู่แนวคิด “ดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล”

เพราะคนไทยซื้อ-ขายของออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากคนที่ไม่เคยซื้อสินค้า อาหาร หรือบริการขนส่ง ผ่านโลกออนไลน์ ก็หันมาใช้งานราวกลับว่า เป็นเรื่องที่หลายคนต่างคุ้นชินกันมานานแล้ว ผลที่ตามมาไม่ใช่เพียงเเค่เรื่องของความสะดวกสบาย ที่มาพร้อมๆ กับการสร้างโอกาสให้กับหลายๆ พ่อค้าแม่ค้าได้สามารถสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่ในมุมกลับกันการใช้งานที่เพิ่มขึ้นนี้ ยังส่งผลให้เกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า Network Effect ที่คุณค่าของสินค้าหรือบริการ ไม่ได้อยู่ที่คุณสมบัติ หรือราคา แต่อยู่ที่จำนวนของผู้ซื้อและผู้ขายในแพลตฟอร์มดิจิทัลนั้นๆ จนทำให้อัลกอลิทึมของแพลตฟอร์มเกิดการจัดอันดับและเลือกแนะนำสินค้า หรือบริการ จากร้านที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แก่ผู้ซื้อโดยตรง โดยไม่สามารถรู้ได้เลยว่า แพลตฟอร์มนั้นๆ ใช้เกณฑ์อะไรในการเลือก จนทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า การให้บริการของแพลตฟอร์มดิจิทัลนั้น เหมาะสม โปร่งใส และมีความเป็นธรรมต่อผู้ใช้งาน ทั้งในมุมของผู้ซื้อ และผู้ขาย จริงหรือไม่? นี่คือหนึ่งตัวอย่างของ Pain point ที่เกิดขึ้นจริง ที่ไม่นับรวมประเด็นของการถูกหลอก โกง สินค้าไม่ตรงปก ตระกร้าสินค้าหาย โดยไม่สามารถติดต่อหรือติดตามผู้รับผิดชอบได้ เป็นต้น “การเข้ามาดูแลการให้บริการของแพลตฟอร์มดิจิทัลให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม” จึงเป็นหนึ่งกลไกสำคัญ ที่ ETDA มองเห็นโอกาสในการร่วมส่งเสริมให้ Ecosystem ของโลกธุรกรรมออนไลน์มีความปลอดภัย เชื่อมั่น จนนำมาสู่การมีกฎหมาย DPS ในวันนี้ เพราะในโลกความเป็นจริงแล้ว เราจะเห็นสินค้านั้นๆ ได้ก็ต่อเมื่อเราเดินไปที่ชั้นวางสินค้าในแผนกต่างๆ หรือจากผู้ขายที่มีลีลาการขายสินค้าได้น่าสนใจ ราคาถูก สินค้าหรือบริการมีคุณภาพจริงๆ เท่านั้น

บริการรับทำบัญชีรายเดือน

บริการจัดทำแบบภาษีและนำส่งสรรพากร และประกันสังคมรายเดือน พร้อมบริการยื่นชำระภาษี

 จัดทำและยื่นแบบภาษีธุรกิจประจำเดือน ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภธ.40)
 จัดทำและยื่นแบบภาษีเงินได้เงินเดือนและค่าแรง หัก ณ ที่จ่าย (ภงด.1)
 จัดทำและยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย (ภงด.3)
 จัดทำและยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล หัก ณ ที่จ่าย (ภงด.53)
 จัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานภาษีขาย
 จัดทำและยื่นแบบประกันสังคม (สปส.1-10)

บริการด้านบัญชี

 บันทึก บัญชีด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปที่กรมสรรพากรรับรองและจัดทำบัญชีให้ครบถ้วน ตามที่กฎหมายกำหนดให้จัดทำ ได้แก่ สมุดเงินสด สมุดเงินฝากธนาคาร สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันขาย สมุดรายวันรับ-จ่าย สมุดรายวันทั่วไป และสมุดบัญชีแยกประเภท
 จัดทำงบการเงินให้ทุกรอบ 6 เดือนและรายปี พร้อมจัดทำพร้อมรายละเอียดประกอบงบ ได้แก่ งบทดลอง งบกระทบยอดเงินฝากธนาคาร จัดทำบัญชีทรัพย์สิน จัดทำรายละเอียดบัญชีลูกหนี้และบัญชีเจ้าหนี้
 จัดทำงบกำไรขาดทุนประจำเดือน (Draft)
 ลงทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชี
 จัดทำบัญชีเงินเดือน คำนวณเงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าเบี้ยขยัน ค่าพาหนะ อื่นๆ

บริการด้านอื่นๆของเรา


 ให้คำปรึกษาปัญหาภาษีอากร
 ให้คำปรึกษา ปัญหาด้านกฎหมาย
 ให้คำปรึกษา ด้านแหล่งเงินทุน การเขียนโครงการเพื่อยื่นกู้
 ให้คำแนะนำวิธีการบัญชี เพื่อผลด้านภาษีอากรที่ดีและถูกต้อง
 ให้คำแนะนำระบบบัญชี เอกสารเบื้องต้นที่จำเป็นในการบันทึกบัญชี
 ให้คำปรึกษา ด้านการตลาดทั่วไปและตลาดออนไลน์ วิเคราะห์คู่แข่งทางการค้า
 ให้คำปรึกษา เรื่องเอกสารการออกบิล การทำสต๊อกสินค้า การจัดเก็บเอกสาร
 ให้คำปรึกษา ด้านทำเล จัดหาที่จดตั้งบริษัท รับแฟ็ก ส่งเอกสาร วางบิล เก็บเช็ค

พิเศษ !!! สำหรับลูกค้าจดทะเบียนใหม่

ส่วนลดพิเศษ!! จัดทำเว็บไซต์จาก
ปกติ 12,000 บาท เหลือเพียง 5,000 บาท
ฟรี !!! ระบบอีเมล์ภายใต้ชื่อโดเมนเนม

พิเศษ !!! ลูกค้าจดทะเบียนใหม่และทำบัญชี

  • ออกแบบเว็บไซต์ลดพิเศษเหลือ 3,500 บาท
  • ฟรี ออกแบบโลโก้บรษัท พร้อมแนะนำการทำตลาดออนไลน์
  • ฟรี รูปแบบใบส่งสินค้า ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและเอกสารสำคัญอื่นๆ
  • ฟรี ขึ้นทะเบียน ระบบ E-FILING เพื่อใช้นำส่งงบการเงินกับกระทรวงพาณิชย์
  • ฟรี จดทะเบียน ภ.อ.01 เพื่อใช้ยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์
  • ฟรี จัดเตรียมเอกสารขึ้นทะเบียน E-GP (ระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ)
  • ฟรี ที่ปรึกษาด้านการตลาดและบริหารธุรกิจ

44/14 ซอยนิมิตใหม่ 12 แขวงทรายกองดิน
เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 10510

ช่องทางการติดต่อ

Fax: 02-914-6688 Mobile: 083-622-5555, 094-491-4333, 095-793-7000 Email:info@chonlatee.com , chonlatee.th@hotmail.com